วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

กลอนรัก


กลอนรักแต่งด้วยอินทรวิเชียรฉันท์ บทประพันธ์นี้ม้ทีควชามหมายฉันแต่งด้วยหัวใจจิตใต้สำนึก

รักแรกสิราบรื่น  ผิจะชื่นธทรวงใน
ความรักรักสิทำไห้.     จิตะรื่นมโนรมย์

รักร้าวจะชักไห้         ขณะใดก็ขืนขม
สิ้นรักก็ตรอมตรม.    อุระคงจะหลังริน


รักแรกก็แอบหลง.  จิตะคงมิแปรผัน
เฝ้ามองตนุชนั้น      สุขะครันมิตรอมตรม
เพียงได้จะเเอบจ้อง. พิศมองมิขืนขม
ถึงแม้สิระทม.            จิตะจมธดวงใจ


ถึงแม้สิไม่มอง.     ก็มิร้องสิเรียกหา
ดวงแดมิแคลนคลา   สิมิว่าหทัยเธอ
ไม่เคยจะเผยใจ        ผิจะไว้มิเคยเผลอ
ดวงใจสิรักเธอ.        สุขะเพ้อมิว่ากัน


แรกแรกก็รักดี.  สุขะนี้มิเท่าทัน
ร่วมเรียงจะสุขสันต์. ขณะนั้นมิตรอมตรม
หลังหลังหลังสิรักชั่ว  จิตะมัวธขืนขม
ไม่ซึ้งมโนรมย์.           หฤจมธสาคร


เฝ้ารักและเฝ้ามอว.      จิตะร้องสิเรัยกหา
ตัวเธอมิมองมา.           สิมิว่ามโนคุณ
ตัวฉันสิคอยรัก.         สุขะหักจะเกื้อหนุน
รักเธอก็มีคุณ.             จิตะนี้ธรื่นเริง

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นางในวรรณคดีไทย



นางในวรรรคดี





วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

วรรณคดีในภาษาไทย   [แก้]

วรรณคดีในภาษาไทย ตรงกับคำว่า "Literature ในภาษาอังกฤษ" โดยคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาลาติน แปลว่า การศึกษา ระเบียบของภาษา ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีความหมายหลายอย่าง ดังนี้

อาชีพการประพันธ์[แก้]

งานเขียนในสมัยใดสมัยหนึ่ง งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ และผู้อ่านทั่วไป สำหรับในภาษาไทย วรรณคดี ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยมีความหมายคือ หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี นั้นคือมีการใช้ภาษาอย่างดี มีศิลปะการแต่งที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านศิลปะการใช้คำ ศิลปะการใช้โวหารและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และภาษานั้นให้ความหมายชัดเจน ทำให้เกิดการโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้คล้องตามไปด้วย กล่าวง่ายๆ คือ เมื่อผู้อ่าน ๆ แล้วทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ตื่นเต้นดื่มด่ำ หนังสือเล่มใดอ่านแล้วมีอารมณ์เฉยๆ ไม่ซาบซึ้งตรึงใจและทำให้น่าเบื่อถือว่าไม่ใช่วรรณคดี หนังสือที่ทำให้เกิดความรู้สึกดื่มด่ำดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความรู้สึกฝ่ายสูง คือทำให้เกิดอารมณ์ความนึกคิดในทางที่ดีงาม ไม่ชักจูงในทางที่ไม่ดี
การศึกษาวรรณคดีโดยวิเคราะห์ตามประเภท สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้


  • วรรณคดีคำสอน
  • วรรณคดีศาสนา
  • วรรณคดีนิทาน
  • วรรณคดีลิลิต
  • วรรณคดีนิราศ
  • วรรณคดีเสภา
  • วรรณคดีบทละคร
  • วรรณคดีเพลงยาว
  • วรรณคดีคำฉันท์
  • วรรณคดียอพระเกียรติ
  • วรรณคดีคำหลวง
  • วรรณคดีปลุกใจ



                 วรรณคดี ถือเป็นวรรณกรรมหรืองานเขียนที่ได้รับการยกย่องว่า นอกจากจะมีเนื้อหาสาระในเชิงสร้างสรรค์แล้ว ยังมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ สามารถทำให้ผู้อ่านคล้อยตามเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ วรรณคดีส่วนใหญ่ มักให้ความสำคัญที่ตัวละคร รวมถึงการดำเนินเรื่อง และสิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากไม่แพ้เนื้อหา คือ นางในวรรณคดี ที่แต่ละเรื่องที่มีอุปนิสัยแตกต่างกัน
ซึ่งนางในวรรณคดีเหล่านี้บ้างก็พบกับโชคชะตาที่ยากลำบาก หรืออุปสรรคต่าง ๆ กระทั่งนำไปสู่บทสรุปที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตนั่นเอง


                                    




                                                                   นางมโนราห์
จากเรื่อง. พระสุธณ-มโนราห์


นางในวรรณคดีไทย : มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์


        นางมโนราห์ เป็นธิดาองค์เล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร  นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน กันและงดงามยิ่งกว่านางมนุษย์  โดยทุกองค์มีปีกและหางที่ถอดออกได้  เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโนดาต เจอพรานบุญที่ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมืองปัญจาลนคร  พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ทำให้สามารถจับนางมโนราห์ไป
ถวายแค่พระสุธนได้ พระสุธนเมื่อเห็นนางเข้าก็เกิดหลงรักและพานางกลับเมืองจนได้อภิเษกกัน

    นางมโนราห์เป็นธิดาองค์เล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร  นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน ๆ กัน  งดงามยิ่งกว่านางมนุษย์ รูปร่างหน้าตาของพวกเขาเหมือนมนุษย์แต่มีปีกและหางที่ถอดออกได้ เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโนดาต เจอพรานบุญที่ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมือง ปัญจาลนคร พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ซึ่งได้ให้ยืมบ่วงนาคบาช เพราะพรานบุญเคยช่วยชีวิตเอาไว้และเห็นว่าพระสุธนกับนางมโนราห์เป็นเนื้อคู่กัน พรานบุญได้จับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสุธน พระสุธนเห็นเข้าก็เกิดหลงรักนางและพานางกลับเมือง และได้อภิเษกกัน ต่อมาปุโรหิตคนหนึ่งได้เกิดจิตอาฆาตแค้นแก่พระสุธนเพราะว่าพระสุธนไม่ให้ตำแหน่งแก่บุตรของตน เมื่อถึงคราวเกิดสงคราม พระสุธนออกไปรบ พระบิดาได้ทรงพระสุบิน ปุโรหิตได้ทำนายว่าจะเกิดภับพิบัติครั้งใหญ่ ให้นำนางมโนราห์ไปบูชายัญ ซึ่งท้าวอาทิตยวงศ์ได้ยินยอมตามนั้น นางมโนราห์รู้เข้าก็เกิดตกใจ จึงออกอุบาย ของปีกกับหางขอนางคืน เพื่อร่ายรำหน้ากองไฟก่อนจะตาย เมื่อนางได้ปีกกับหางแล้ว นางก็ร่ายรำได้สักพักก็บินหนีไป ไปเจอฤาษีก็ได้กล่าวกับฤาษีว่า หากพระสุธนตามมาให้บอกว่าไม่ต้องตามนางไป เพราะมีภยันอันตรายมากมาย และได้ฝากภูษาและธำมรงค์ให้พระสุธน เมื่อนางมโนราห์ได้กลับไปที่เมืองก็จะได้มีพิธีชำระล้างกลิ่นอายมนุษย์  ฝ่ายพระสุธนที่กลับจากสงครามได้ลงโทษปุโรหิต และติดตามหานางมโนราห์ เมื่อเจอพระฤาษี พระสุธนจะติดตามนางมโนราห์ต่อไป โดยมีพระฤาษีค่อยช่วยเหลือ เปนเพราะเวรกรรมแต่ชาติที่แล้วนั่นคือ นางมโนราห์คือ พระนางเมรี และพระสุธนคือ พระรถเสน ทำให้พระสุธนได้รับความลำบากมาก เมื่อพระสุธนมาถึงสระน้ำอโนดาต ได้แอบเอาพระธำมรงค์ใส่ลงในคณโฑของนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งนางกินรีได้นำน้ำนั้นไปสรงให้นางมโนราห์ พระธำมรงค์ได้ตกลงมาที่แหวนของนางพอดี ทำให้นางรู้ว่าพระสุธนมาหานาง นางจึงได้แจ้งแก่พระมารดา ซึ่งพระบิดาต้องการทราบว่าพระสุธนมีความรักจิงต่อนางมโนราห์หรือไม่ ได้รับพระสุธนมาที่เมืองและให้พระสุธนบอกว่านางไหนคือนางมโนราห์ ซึ่งนางมโนราห์และพี่ๆๆมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกัน ร้อนถึงองค์อินทร์ ต้องแปลงกายมาเป็นแมลงวันทอง จับที่ผมของนางมโนราห์ ทำให้นางมโนราห์และพระสุธนได้เคียงคู่อย่างมีความสุข 




นาง มัทนา

จากเรื่อง  มัทนาพาธา




นางในวรรณคดีไทย : มัทนา จาก มัทนพาธา


                                                         จอมเทพสุเทษณ์เป็นเทพผู้ใหญ่บนสรวงสวรรค์ เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้า สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์
มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้งกลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ 1 เดือน นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ชั่ว 1 วัน 1 คืน ในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรักเมื่อใด นางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมือนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง
นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี
วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤๅษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้นทันที
ท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น
เมื่อมีความรักแล้ว นางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคลในป่านั้นเสียก่อน
ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างในด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑี มเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา
พระนางจัณฑีแค้นใจนัก ให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ ท้าวชัยเสนกริ้วนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
พระนางจัณฑีได้ช่องรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง
ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภาพความทั้งปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้าย ซึ่งในที่สุดแล้วตนสำนึกผิดและละอายต่อบาปที่เป้นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโทษประหาร ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิดคำสั่ง มิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนา หากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัตศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าสึกจนตัวตาย ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่
ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนางด้วย สุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธและว่าอันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วนักสาปส่งให้นางมัทนาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา
เมื่อพระฤษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยาน และขอให้ฤๅษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยราตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้ง


นาง บุษบา

จากเรื่อง อิเหนา


 นางในวรรณคดีไทย : ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา



       นางบุษบา เป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง และเมื่อประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา ทั้งนี้ นางบุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวา กิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคน ใจกว้างและมีเหตุผล จึงทำให้อิเหนารักใคร่หลงใหลนางยิ่งกว่าหญิงใด



 นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา
     บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น
นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
     นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
ลักษณะนิสัย
๑.บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล
๒. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
๓. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า 
 "อันนางจินตะหราวาตี     ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา 
 หากเขาก่อก่อนอ่อนมา     ใจพี่พาลาก็งวยงง……"
     จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า
" จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย  จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา
เขาจะเชิดชื่อฤาชา            ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย
อันความอัปยศอดสู      จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย
ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย    ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป "
และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า 
"พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี   เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า
ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา       ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก
เป็นไฉนจึงยกน้องให้         แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์
กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก       พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ
สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง      อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย    จะตายในความซื่อสัตยา"
๔. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน
๕.มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า
"ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง   อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
แม้นชีวันจะบรรลัย           จะตายในความซื่อสัตยา"
๖.ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี
๗.เมื่อเป็นชาย คือมิสาอุณากรรณก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน
๘.มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน
๙.มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง
๑๐.ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า
"แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง    พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา
เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา     เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล"
และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง

นาง อันโดรเมดา


จากวิวาห์พระสมุทร
นางในวรรณคดีไทย : อันโดรเมดา  จาก วิวาห์พระสมุทร


กล่าวถึงประชาชนชาวกรีก ณ เกาะอัลฟะเบตา โง่เขลา หลงเชื่อในอำนาจทางทะเล เมื่อครบรอบ 100 ปี จะต้องส่งสาวพรหมจารีไปเป็นเจ้าสาวของพระสมุทร กษัตริย์มิดัสผู้ครองเกาะจำใจส่งราชธิดาชื่ออันโดรเมดาไปสังเวยทางทะเล แต่อันเดรคู่รักของนางออกอุบาย ขอให้นายนาวาเอกเอดเวิดไลออนกัปตันเรืออังกฤษมาขู่ชาวเมืองให้ยกนางให้อันเดรนางจึงรอดชีวิต และได้แต่งงานกับอันเดรสมปรารถนา
ในประเทศกรีซสมัยโบราณ มีเกาะแห่งหนึ่งชื่อว่า อัลฟาเบต้า กษัตริย์ มิดัส ผู้ครองเกาะอัลฟาเบต้า มีพระราชธิดาโฉมงามองค์หนึ่ง คือเจ้าหญิงอันโดรเมดาชาวเกาะนี้ทุกคนเกรงกลัวในอำนาจแห่งพระสมุทร และเชื่อว่าเมื่อครบรอบทุกๆ หนึ่งร้อยปี จะต้องส่งสาวพรหมจารีไปเป็นเจ้าสาวของพระสมุทร หรือทำพิธีบูชายัญต่อเทพแห่งท้องทะเลที่เรียกว่าวิวาหพระสมุทร โดยการจับหญิงสาวพรหมจรรย์ไปมัดเชือกทิ้งไว้ที่ทะเลให้คลื่น พัดลงไปในทะเล พอวันรุ่งขึ้นเมื่อหญิงนั้นหายไป ชาวมืองก็จะบอกว่า หญิงผู้นั้นได้วิวาห์กับพระสมุทรแล้ว ( เหตุการณ์นี้ ร.6 ทรงแต่งล้อตำนานกรีกโบราณ ที่เทพเจ้าเนปจูนมาเอานางอันโดรเมดาไปเป็นเครื่องสังเวย ชื่อนางเอกของวิวาหพระสมุทรก็เอามาจากตำนานนั้น )
เจ้าหญิงอันโดรเมดานั้นรักกันอยุ่กับ เจ้าชายอันเดร ซึ่งยากจน เพราะพระบิดาเอาทรัพย์สินไปลงทุนแล้วขาดทุนหมด กษัตริย์มิดัสพระบิดา จึงไม่ทรงอยากได้เจ้าชายอันเดรมาเป็นเขย เพราะรังเกียจว่าจน เจ้าชายอันเดรก็เลยคิดวางแผนหาวิธีต่างๆที่จะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงอันโดรเมดา เช่น คิดวางแผนจะทำเป็นว่าเอาเรือมาขู่โดยล้อมเกาะ แต่ก็ติดขัดอยู่ที่ไม่มีเรือ พอคิดถึงวิธีที่จะเอาเงินทองมาให้ก็ไม่มีเงินทองอีก เจ้าหญิงอันโดรเมดา ที่ช่วยร่วมคิดแผนด้วยกันเลยบอกให้ เจ้าชายอันเดรลองไปสู่ขอกับกษัตริย์มิดัส พระบิดาของตนแบบตรงๆดู
พอใกล้ถึงเวลาที่จะต้องทำพิธีส่งเจ้าสาวให้พระสมุทร ชาวเกาะก็เริ่มแตกตื่น บังเอิญมีเรือรบอ๊อกฟอร์ดจากประเทศอังกฤษมาจอดเทียบท่า เรือนี้มีนายนาวาเอก เอดเวิด ไลอ้อน เป็นผู้บังคับการ และมีเจ๊กบ๋อยประจำเรือไว้หางเปียยาว ชื่อเต๊กหลี ติดมากับเรือด้วย พอเต๊กหลีขึ้นไปนท่า ชาวเมืองไม่มีใครเคยเห็นคนจีนมาก่อน ก็แตกตื่นว่าคนประหลาดมีหางบนหัว เป็นผีทะเลมาทวงส่วยให้พระสมุทร
พระสังฆราชหัวหน้านักบวชประจำเกาะ มีหลานชายคือคอนสแตนติโนส ซึ่งก็หลงรักเจ้าหญิงอันโดรเมดาอยู่เช่นกัน เห็นได้ทีก็คบคิดกันกับเต๊กหลีทำอุบายให้พลเมืองเชื่อว่า เตีกหลีเป็น ผีทะเล ผู้แทนของพระสมุทรที่มาทวงส่วย เพราะครบรอบร้อยปีแล้ว และเจ้าหญิงอันโดรเมดาจะต้องเป็นหญิงสาวที่จะต้องไปวิวาห์กับพระสมุทร หรือกับผู้ที่พระสมุทรให้มาเป็นตัวแทน โดยตกลงกันว่า พอถึงตอนทำพิธีส่งตัวเจ้าสาวพระสมุทร เต๊กหลีในฐานะผีทะเล ก็จะออกมาชี้ตัวคอนสแตนติโน้สให้เป็นผู้แทนพระสมุทร และกษัตริย์มิดัสก็จะต้องให้พระราชธิดาแต่งงานกับผู้แทนพระสมุทร
แต่แผนนี้รั่วไปถึงเจ้าหญิง และเจ้าชายอันเดร เจ้าหญิงอันโดรเมดาจึงส่งพระพี่เลี้ยงสาวชาวอังกฤษชื่อ แมรี่ไปขอความช่วยเหลือจาก นาวาเอก เอดเวิด ไลอ้อน ผู้บังคับการเรือรบ จึงเกิดการซ้อนแผนขึ้น ในพิธีส่งตัวเจ้าสาวพระสมุทร นาวาเอก เอดเวิด ไลอ้อน เอาทหารเรืออังกฤษในบังคับบัญชาถืออาวุธเข้ามาควบคุมสถานการณ์ เต๊กหลีเห็นเช่นนั้นก็ไม่กล้ารับเป็นทูตพระสมุทร นาวาเอก เอดเวิด ไลอ้อน จึงกล่าวว่า เขาในฐานะเป็นผู้บังคับการเรือราชนาวีอังกฤษ มีอำนาจเหนือท้องทะเล ถือว่าเป็นผู้แทนพระสมุทรได้โดยชอบธรรม
พระสังฆราชโดนดาบปลายปืนของทหารเรืออังกฤษจี้ควบคุมตัว จึงต้องยอมรับว่านาวาเอก เอดเวิด ไลอ้อน เป็นผู้แทนพระสมุทรจริง นาวาเอก เอดเวิด ไลอ้อน ก็เลยเรียกเจ้าบ่าวที่พระสมุทรยินยอมพร้อมใจด้วยมารับตัวเจ้าสาวไป เจ้าชายอันเดรก็ปรากฏตัวขึ้นในชุดเครื่องแบบทหารเรืออังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นญาติหรือเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกับพระสมุทร แล้ว จึงสมควรจะแต่งงานกับเจ้าหญิงแทนพระสมุทรได้ ทุกๆคนก็พลอยยินดีไปกับเจ้าชายและเจ้าหญิงทั้งสอง และนาวาเอก เอดเวิด ไลอ้อน ก็ได้แต่งงานกับแมรี พระพี่เลี้ยงชาวอังกฤษของเจ้าหญิงด้วย
          


นาง  รจนา

จากเรื่อง  สังฆทอง
นางในวรรณคดีไทย : รจนา  จาก สังข์ทอง



        พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่งท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ นางรจนาที่เห็นรูปทองก็ได้เลือกเจ้าเงาะเป็นสวามี ด้านท้าวสามลที่โกรธจัด เนื่องจากนางรจนาเลือกเจ้าเงาะที่มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ดังนั้นจึงสั่งเนรเทศนางไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ

ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวี ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและนางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง
อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทาเทวี จึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง
นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา 5 ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย
ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์เพื่อที่ท้าวยศวิมลจะได้หลงอยู่ในมนต์สะกด และได้ยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์(พญานาค) ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปีบริบูรณ์
วันหนึ่ง นางพันธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง และได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง(รองเท้าทองนั้นเอง) ไม้พลอง และพระสังข์ก็รู้ความจริงว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ เมื่อพระสังข์พบเข้ากับโครงกระดูก จึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยการสวมกระโดดลงไปชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป
เมื่อนางพันธุรัตทราบว่าพระสังข์หนีไป ก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึ่ง จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมา แต่พระสังข์ก็ไม่ยอม นางพันธุรัตจึงเขียนมหาจินดามนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหิน ก่อนที่นางจะอกแตกตาย ซึ่งพระสังข์ได้ลงมาท่องมหาจินดามนตร์จนจำได้ และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป
พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ โดยเฉพาะ พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่ง ท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งธิดาทั้ง 6 ต่างเสี่ยงมาลัยได้คู่ครองทั้งสิ้น เว้นแต่นางรจนาที่มิได้เลือกเจ้าชายองค์ใดเป็นคู่ครอง ท้าวสามลจึงได้ให้ทหารไปนำตัวพระสังข์ในร่างเจ้าเงาะซึ่งเป็นชายเพียงคนเดียวที่เหลือในเมืองสามล ซึ่งนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ จึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมาก เนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ
ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์ อาสน์ที่ประทับของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้าง อันเป็นสัญญาณว่ามีผู้มีบุญกำลังเดือดร้อน จึงส่องทิพยเนตรลงไปพบเหตุการณ์ในเมืองสามล จึงได้แปลงกายเป็นกษัตริย์เมืองยกทัพไปล้อมเมืองสามล ท้าให้ท้าวสามลออกมาแข่งตีคลีกับพระองค์ หากท้าวสามลแพ้ พระองค์จะยึดเมืองสามลเสีย
ท้าวสามลส่งหกเขยไปแข่งตีคลีกับพระอินทร์ แต่ก็แพ้ไม่เป็นท่า จึงจำต้องเรียกเจ้าเงาะให้มาช่วยตีคลี ซึ่งนางรจนาได้ขอร้องให้สามีช่วยถอดรูปเงาะมาช่วยตีคลี เจ้าเงาะถูกขอร้องจนใจอ่อน และยอมถอดรูปเงาะมาช่วยเมืองสามลตีคลีจนชนะในที่สุด
หลังจากเสร็จภารกิจที่เมืองสามลแล้ว พระอินทร์ได้ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล และเปิดโปงความชั่วของพระนางจันทาเทวี พร้อมกับสั่งให้ท้าวยศวิมลไปรับพระนางจันท์เทวีกับพระสังข์มาอยู่ด้วยกันดังเดิม ท้าวยศวิมลจึงยกขบวนเสด็จไปรับพระนางจันท์เทวีกลับมา และพากันเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์
ท้าวยศวิมลและพระนางจันท์เทวีปลอมตัวเป็นสามัญชนเข้าไปอยู่ในวัง โดยท้าวยศวิมลเข้าไปสมัครเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้า ส่วนพระนางจันท์เทวีเข้าไปสมัครเป็นแม่ครัว และในวันหนึ่ง พระนางจันท์เทวีก็ปรุงแกงฟักถวายพระสังข์ โดยพระนางจันท์เทวีได้แกะสลักชิ้นฟักเจ็ดชิ้นเป็นเรื่องราวของพระสังข์ตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้พระสังข์รู้ว่าพระมารดาตามมาแล้ว จึงมาที่ห้องครัวและได้พบกับพระมารดาที่พลัดพรากจากกันไปนานอีกครั้ง
หลังจากนั้น ท้าวยศวิมล พระนางจันท์เทวี พระสังข์กับนางรจนาได้เดินทางกลับเมืองยศวิมล ท้าวยศวิมลได้สั่งประหารพระนางจันทาเทวี และสละราชสมบัติให้พระสังข์ได้ครองราชย์สืบต่อมา


พระเพื่อน-พระแพง



จาก ลิลิตพระลอ
นางในวรรณคดีไทย : เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ

               เจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือ พระลอ เป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อ นางลักษณวดี สำหรับ พระลอ นั้น เป็นหนุ่มรูปงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อน พระแพง เกิดความรักและปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อน พระแพง ชื่อนางรื่น นางโรย จึงได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อน พระแพง ให้พระลอฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงใหลคิดเสด็จไปหานาง

ตำนานรักพระลอ ความว่า เดิมเจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือพระลอเป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดี พระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อนพระแพงเกิดความรักและปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ชื่อนางรื่นนางโรย ได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงให้พระลอฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงไหลคิดเสด็จไปหานาง
     ฝ่ายพระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบ จึงหาหมอแก้เสน่ห์ได้ แต่ปู่เจ้า สมิงพรายได้เสกสลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ถึงกับหลงไหลธิดาทั้งสองมากขึ้น จึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้วนายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลงได้เสี่ยงทายกับแม่น้ำ แม่น้ำกลับวนและเป็นสีเลือด ซึ่งทายว่าไม่ดี แต่พระลอก็ยังติดตามไก่ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมนต์ล่อพระลอให้หลง เข้าไปในสวนหลวง แล้วแอบได้พระธิดาทั้งสองเป็นชายา นายแก้วนายขวัญก็ได้กับนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยง
         เมื่อพระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อนพระแพงทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรงพิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ้ว แต่พระเจ้าย่า(ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อนพระแพงโกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครสวามีในที่รบ พระเจ้าย่าถือว่าพระลอเป็นศัตรู จึงสั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน และสั่งประหารด้วยธนู ทั้งพระลอ พระเพื่อน พระแพง และนายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ร่วมกันต่อสู่ทหารของพระเจ้าย่า อย่างทรหด จนสุดท้ายถูกธนูตายในลักษณะพิงกัน ตายด้วยความรักทั้ง 3 องค์
     ท้าวพิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหาร ฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ทรงกริ้วและสั่งประหารพระเจ้าย่า(เพราะมิใช่ชนนี)เสีย แล้วโปรดให้จัดการพระศพพระลอกับ พระธิดาร่วมกันอย่างสมเกียรติ และส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมืองสรองกับเมืองแมนสรวงกลับมีสัมพันธไมตรีกันต่อมา
คติและแนวคิด
     ตำนานรักพระลอเป็นนิยายพื้นบ้านที่ให้รสวรรณคดีทุกรส ได้แก่ ความรัก ความโศก กล้าหาญ และเสียสละ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงผลเสียของความแค้น ความอาฆาต พยาบาท ตลอดจนอนุภาพแห่งความรัก ที่เป็นอมตะรักของพระลอ พระเพื่อนพระแพง 
พราะเสน่ห์แรงเกินไปนี่เอง


นางละเวงวังฬา

จาก  พระอภัยมณี
นางในวรรณคดีไทย : ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี

          นางละเวงวัณฬา เป็นธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี เมื่อนางอายุได้ 16 ปี นางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายในสงครามสู้รบระหว่างเมืองลังกาและเมืองผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณี แม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงได้
นางละเวงวัณฬาเป็นหญิงฝรั่ง ธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี เมื่อนางอายุได้ ๑๖ ปีนางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายไปในสงครามสู้รบระหว่างเมืองลังกาและเมือง ผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณี แม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงได้ 
ลักษณะนิสัย
  บทบาทของนางละเวงในเรื่องนั้นค่อนข้างแปลกกว่าตัวผู้หญิงในเรื่องอื่นๆ คือมีลักษณะเป็นทั้งนางเอกและผู้ร้ายก้ำกึ่งกันในตอนต้นนางทำศึกโดยการใช้เล่ห์กลอุบายตามคำแนะนำของบาทหลวง ทั้งนี้ด้วยคามแค้นที่พ่อและพี่ชายถูกฆ่าตายด้วยฝีมือชาวเมืองผลึก แม้ว่าความพยายามของนางในตอนต้นๆจะไม่ได้ผลเต็มที่ นางก็ไม่ละความพยายาม จนกระทั่งพระอภัยมณียกทัพข้ามไปราวีกรุงลังกาเสียเอง ทั้งๆที่มีความเกลียด ความโกรธ ความอาฆาตแค้นอยู่เต็มอก แต่พอนางได้พบหน้า และต่อปากต่อคำกับพระอภัยมณีศัตรูคนสำคัญเพียงครั้งเดียว นางก็ชักจะเรรวนไปข้างเสน่หาพระอภัยมณีเสียแล้ว แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าเมืองลังกา นางละเวงจึงยอมตัดใจไม่เกี่ยวข้องกับพระอภัยมณีเป็นอันขาด แต่จะยกกองทัพกลับมาต่อสู้ให้ชนะให้จงได้ การที่จะทำศึกกับคนที่ตนรักนั้นไม่ใช่ของง่าย นางละเวงเองก็ทรมานใจ


               “เมื่อต่างชาติศาสนาเป็นข้าศึก    สุดจะนึกร่วมเรียงเคียงเขนย 
ขอสู้ตายชายอื่นไม่ชื่นเชย           จนล่วงเลยสู่สวรรค์ครรไล”




นางศกุลตลา

 

จาก ศกุลตลา

นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา  จาก บทละครรำ ศกุนตลา


         นางศกุนตลา เป็นธิดาของ พระวิศวามิตรกับนางฟ้าเมนกา แต่นางได้ถูกทิ้งไว้ในป่าตามลำพัง ต่อมานางนกมาพบเข้าจึงนึกสงสารและและนำตัวนางกลับไปเลี้ยงดูเหมือนลูกแท้ ๆ ที่อาศรมของตน ต่อมานางศกุนตลาเติบโตเป็นสาวรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้ นางได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน จนทั้งคู่ได้มีสัมพันธ์ลึกซึ้งต่อกัน แต่เมื่อท้าวทุษยันต์ต้องเดินทางกลับเมือง จึงทำการมอบแหวนวงหนึ่งไว้ให้แก่นาง จนกระทั่งเช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาสผู้มีปากร้าย ได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธสาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาเมื่อพระฤาษีทุรวาสหายโมโหแล้ว เพราะรู้ว่านางไม่ได้ตั้งใจแสดงอาการไม่เคารพกับตนจึงให้พรกำกับว่า หากคนรักของนางได้เห็นของที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้ 


       ศกุนตลา เรื่องราวของนางในวรรณคดีนี้เริ่มจาก พระวิศวามิตรเกิดนึกอยากมีฤทธิ์มากๆจึงสละราชสมบัติ ออกบำเพ็ญตบะในป่าจนแก่กล้ายิ่ง ทำให้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อนไปทั่ว พระอินทร์คิดแก้ไข โดย

ให้นางฟ้าเมนกาลงมาใช้ความงามยั่วยวน เพื่อทำให้พระฤาษีตนนี้ไม่มีกะจิตกะใจจะบำเพ็ญเพียร ทั้งสองจึงครองคู่กัน จนกระทั่งมีธิดามาคนหนึ่ง พอดีกับตอนนั้นพระวิศวามิตรที่ผ่านพ้นระยะข้าวใหม่ปลามัน

เกิดได้คิด จึงบอกนางเมนกากลับสวรรค์ ส่วนพระองค์ก็ออกไปจักรวาล ทิ้งพระธิดาน้อยๆอยู่ในป่าแต่เพียงลำพัง ดีที่ได้พวกนกคอยเลี้ยงดู เมื่อพระกัณวดาบสมาพบเข้า จึงให้นางนามว่า ศกุนตลา ซึ่งแปลว่า

นางนกและนำกลับไปเลี้ยงดูอย่างธิดาที่อาศรมของตน ต่อมานางเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้ ดังคำบรรยายที่ว่า... ดูผิวสินวลละอองอ่อน มะลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนี้เป็นปิ่นโลกา งามโอษฐ์ดังใบไม้อ่อน งามกรดังลายเลขา งามรูปเลอสรรขวัญฟ้า งามยิ่งบุปผาเบ่งบาน
แล้ววิถีชีวิตของนางได้มาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เมื่อได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน ซึ่งเสด็จประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ แล้วบังเอิญตามกวางมาถึงบริเวณใกล้เคียง จึงแวะมายัง
อาศรม หมายพระทัยจะมานมัสการพระกัณวดาบส แต่ในตอนนั้นพระกัณเวดาบสไม่อยู่ เนื่องจากเดินทางไปบูชาพระเป็นเจ้าที่เทวสถานโสมเตียรถ์ เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้แก่นาง พวกปีศาจมารร้ายได้ถือ
โอกาสเข้ามาอาละวาดที่อาศรม รังควาญการบำเพ็ญเพียรของเหล่าพราหมณ์ผู้ศิษย์ พระกัณเวดาบส ท้าวทุษยันต์เสด็จมาปราบปีศาจได้สำเร็จเมื่อท้าวทุษยันต์มีโอกาสอยู่ตามลำพัง ทั้งสองได้เป็นของกันและกัน
หลังจากทุกอย่างเป็นไปตามจุดมุ่งหมายแล้ว ท้าวทุษยันต์ได้มอบแหวนวงหนึ่งแก่นางแล้วรีบเดินทางกลับบ้านเมือง เช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาสผู้มีปากร้าย ได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่รู้ตัวด้วยกำลัง
ป่วยเป็นไข้ใจ จึงไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธสาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาพระฤาษีทุรวาสหายโมโหแล้ว เพราะรู้ว่านางไม่ได้จนใจแสดงอาการไม่เคารพกับตนจึงให้พรกำกับแก่
นางว่า หากคนรักของนางได้เห็นของที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้ พระกัณดาบสได้ทราบเรื่องราวต่างๆของนางกับ ท้าวทุษยันต์ จึงส่งนางไปให้ท้าวทุษยันต์จัดพิธีอภิเษก ในระหว่างทางที่ปนางได้ทำ
แหวนที่ท้าวทุษยันต์ประทานให้ตกหายไปในแม่น้ำ เมื่อไปถึงที่หมายท้าวทุษยันต์ทรงจำนางไม่ได้ จนกระทั่งกุมภิลชาวประมงจับได้ปลาที่กลืนแหวนซึ่งนางศกุนตลาทำหาย พอเห็นแหวนท้าวทุษยันต์ก็ได้
สติจำเรื่องราวต่างๆได้ จนกระทั่งท้าวทุษยันต์ได้พบกับนางศกุนตลาอีกครั้ง หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนานด้วยความช่วยเหลือของพระเทพบิดรและพระเทพมารดร ดังนั้น ท้าวทุษยันต์ทรงรับมเหสี
และโอรสกลับสู่นครหัสดินด้วยความปิติยินดี(ตอนที่นางไปหาท้าวทุษยันต์นางทรงครรภ์แก่ นางได้กำเนิดพระโอรสทรงพระนามว่าพระภรต เกิดตอนอาศัยอยู่กับพระกศบและนางอทิติเหตุที่เป็นเช่นนี้เพรา
ะขณะที่นางจะไปสู่ที่พักโสมราตปุโรหิตของท้าวไตรตรึง ได้ลอบอธิษฐานว่าหากสิ่งที่นางศกุนตลาพูดเป็นความจริง ขอให้เกิดปาฏิหาริย์ประจักษ์ต่อหน้า พออธิษฐานจบ นางศกุนตลาได้หายลับไปต่อหน้า
ซึ่งนางได้มาอยู่กับพระกศบและนางอทิตินั่นเอง)



จาก เงาะป่า

นางในวรรณคดีไทย : ลำหับ  จาก เงาะป่า

พระนิพนธ์เงาะป่าว่าตามเค้า
คนังเล่าแต่งต่อล้อมันเล่น
ใช้ภาษาเงาะป่าว่ายากเย็น
แต่พอเห็นเงื่อนเงาเข้าใจกัน
ทำแปดวันครั้นมาถึงวันศุกร์สิ้นสนุกไม่มีที่ข้อขัน
วันที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ศกร้อยยี่สิบสี่มั่นจบหมดเอย


         ลำหับเป็นเงาะป่า อาศัยอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ลำหับเป็นพี่สาวของไม้ไผ่ ลำหับต้องแต่งงานกับฮเนาทั้งๆๆที่ลำหับรักใคร่ชอบพอกับซมพลา ซึ่งไม้ไผ่ต้องการให้ลำหับแต่งงามกับซมพลามากกว่าฮเนา วันหนึ่งไม้ไผ่ชอนลำหับไปเก็บดอกไม้ ได้มีงูตัวหนึ่งมารัดแขน  ลำหับตกใจจนสลบ เมื่อลำหับฟื้นพบว่าซมพลากอดนางอยู่และได้ไถ่ถามด้วยความห่วงใย และได้พูดออกมาว่า"หากเจ้าตายไป พี่นี้จักตายตาม" ลำหับได้ขอบคุณ
ป็นนิยายรักสามเส้า เรื่องราวของหนึ่งหญิงสองชายชาวป่า ตอนเริ่มต้นกล่าวว่าได้เค้าเรื่องจากคำบอกเล่าของ ยายลมุด หญิงเฒ่าชาวเงาะ เมืองพัทลุง แล้วดำเนินเรื่องว่า คนัง เงาะชาวพัทลุงกำพร้าพ่อแม่ อยู่กับพี่ชายชื่อ แค วันหนึ่งคนังชวนเพื่อนชื่อ ไม่ไผ่ ไปเที่ยวป่าพบ ซมพลา เงาะหนุ่ม ล่ำสันแข็งแรง เก่งในทางใช้ลูกดอก ซมพลาหลงรัก ลำหับ พี่สาวไม่ไผ่ ลำหับ เป็นคู่หมั้นของ ฮเนา ซมพลาได้พบไม้ไผ่ก็ดีใจ สอนวิธีเป่าลูกดอกให้ไม้ไผ่และคนัง ซมพลาเผยความในใจที่มีต่อลำหับให้ไม้ไผ่ฟัง ไม้ไผ่เต็มใจช่วย ออกอุบายให้ซมพลาได้พบกับลำหับ ลำหับยินดีรับรักซมพลา พอถึงวันแต่งงานของฮเนากับลำหับ ไม้ไผ่กับคนังได้ช่วยซมพลาพาลำหับหนี ฮเนากับรำแก้ว พี่ชายออกติดตาม ซมพลานำลำหับไปซ่อนไว้ในถ้ำแล้วออกไปหาอาหาร พบฮเนาเข้าเกิดต่อสู้กัน รำแก้วเข้าช่วยน้องชาย ใช้ลูกดอกเป่าถูกซมพลา ลำหับเห็นซมพลาหายไป จึงออกตามหา พบซมพลาขาดใจตายไปต่อหน้าต่อตา ก็เสียใจฆ่าตัวตายตาม ฮเนาได้เห็นความรักอันเด็ดเดี่ยวของซมพลากับลำหับ รู้ตัวว่าเป็นเหตุให้ทั้งสองต้องเสียชีวิต จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายตามไปด้วย
เรื่องจบลงตอนเมืองสงขลาสั่งให้กรมการเมืองพัทลุงหาเงาะหน้าตาดีๆ ส่งไปถวาย กรมการเมืองพัทลุงได้คนังมา จัดให้มีการรับขวัญและมีการฉลองต้อนรับคนังแค่นี้และ
บทละครเรื่องเงาะป่านี้แต่งด้วยกลอนบทละคร ตลอดทั้งเรื่อง มีการบอกเพลงกำกับไว้ด้วย ทรงใช้ภาษาอย่างเรียบง่ายแต่มีความไพเราะ ไม่มีศัพท์สูงๆ ที่เข้าใจยากอย่างวรรณคดีทั่วไป ทว่าได้ทรงสอดแทรกคำศัพท์ภาษาก็อย (ซาไก) ไว้โดยตลอด อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงเนื้อเรื่อง มีบัญชีศัพท์ภาษาก็อยใส่ไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถพลิกมาเปิดหาความหมายของคำศัพท์เหล่านั้นได้โดยสะดวก แต่แม้ผู้อ่านจะไม่ได้ย้อนกลับมาเปิดศัพท์ ก็คงอ่านได้รู้เรื่องโดยไม่ยาก เพราะมักทรงใช้คำศัพท์ภาษาก็อยควบคู่กับภาษาไทย ทำให้สามารถเดาความหมายภาษาก็อยได้
คำศัพท์ภาษาก็อยนี้ เดิมนั้นพระราชสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเก็บมาจากเงาะป่าคนหนึ่ง ชื่อคนัง ที่ทรงนำไปเลี้ยง ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคำนำว่า "ส่วนศัพท์ภาษาก็อยไล่เลียงจากอ้ายคนังทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ไล่เลียงขึ้นสำหรับหนังสือนี้ ได้ชำระกันแต่แรกมา เพื่อจะอยากรู้รูปภาษาว่ามันเป็นอย่างไร แต่คำให้การนั้นได้มากแต่เรื่องนกหนูต้นหมากรากไม้ เพราะมันยังเป็นเด็ก บางทีผู้อ่านจะเหนื่อยหน่าย ด้วยคำที่ไม่เข้าใจมีมาก จึงได้จดคำแปลศัพท์ติดไว้ในสมุดเล่มนี้ด้วย"

นางไอ่ดำ

จากเรื่อง  ผาแดงนางไอ่ดำ

นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ  จาก ผาแดง-นางไอ่



        เรื่องท้าวผาแดงกับนางไอ่ เป็นตำนานที่ผูกพันกับ ทะเลสาบหนองหาร จ. สกลนคร ตามตำนานเล่าว่าเดิมบริเวณที่หนองหารนั้น เคยเป็นเมืองใหญ่ชื่อว่า เอกชะทีตา มีพระยาขอมองค์หนึ่งปกครองอยู่ พร้อมมเหสีนามว่านางจันทร์เทียม ซึ่งพระยาขอมมีธิดาซึ่งมีรูปโฉมงดงามชื่อ นางไอ่คำ หรือบางทีก็เรียกว่า นางไอ่
          เมื่อนางไอ่มีอายุได้ 15 ปี ความงามของนางเป็นที่เลื่องลือมาก จน ท้าวผาแดง กษัตริย์แห่งเมืองผาโพงต้องเสด็จมายังเมืองเอกชะทีตาเพื่อชมความงามของนาง จากนั้นทั้งสองได้ผูกพันกันทั้งกายและใจ แต่ท้าวผาแดงต้องลานางไอ่เพื่อกลับไปยังเมืองผาโพง โดยสัญญาว่าจะรีบกลับมาสู่ขอตามประเพณีโดยเร็ว
ตำนานเล่าว่า  เหมืองหนองแสน่านเจ้า  เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์  มีแม่น้ำ 5 สาย ไหลมารวมกันที่หนองแส  เมืองหนองแส   แบ่งเป็น 2 เมือง  อยู่คนละฝั่ง  แห่งหนองแสทางฝั่งขวาเจ้าสุทนาคปกครอง  ทางฝั่งซ้ายสุวรรณนาคปกครองทั้งสองสามัคคีกันดี  ต่อมาแตกสามัคคีกันเพราะการแบ่งเนื้อเม่น  เจ้าสุทโธนาคไม่พอใจ  คิดว่าเจ้าสุวรรณนาคไม่ชื่อ  จึงทะเลาะกันจนเกิดสงคราม พระอินทร์ต้องสั่งเทพบุตรลงมาระงับศึกและแบ่งเขตให้เจ้าสุวรรณนาคครองฝั่งใต้  ในเจ้าสุทธนาคครองฝั่งเหนือและตะวันออ  โดยแบ่งลงไปจนถึงทะเล  นาคทั้งสองจึงขุดคลองจากหนองแสลงสู่ทะเล  คลองทั้งสองก้คือ แม่น้ำของ (ปัจจุบันเรียกโขง) กับแม่น้ำน่าน หรือโพระมิง
สุวรรณนาค  ย้ายเมืองไปตั้งที่นันทบุรี  อาจจะเป็นบริเวณจังหวัดน่านในปัจจุบันส่วนสุทโธนาค  ย้ายไปตั้งที่ ศรีสีตตนาคนหุต ครองลุ่มน้ำของ  และไปถึงทะเลก่อน  จึงได้ปลาบึกขึ้นมาปล่อยไว้ในน้ำของ
สุทโธนาคแห่งศรีสัตตนาคนหุต  มีโอรสชื่อ  ภังคี  เป็นหนุ่มที่รูปหล่อมาก
ทางตอนใต้ของศรีสัตตนาคนหุต  มีเมือง  สุวรรณโคมคำ  หรือ  โคมคำ  หรือ  เอกธีตา เมืองนี้มีพญาขอมเป็นผู้ปกครอง  อาจจะตั้งอยู่บริเวณอำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี  พญาขอมมีธิดาที่เลอโฉม  นามว่านางไอ่  หรือนางไอ่คำ  หรือนางไอ่ใจเมือง พญาขอมมีน้องชาย 2 คน  ให้ไปครองเมืองเชียงเหียนและเมืองสีแก้ว  มีหลายชาย 2 คน  ให้ไปครองเมืองฟ้าแดด  และเมืองหงส์ ความงามของนางไอ่  ดังไปทุกทิศจนไปถึงหูของท้าวผาแดง  แห่งเมืองผาโผง  ท้าวผาแดงจึงขึ้นม้าแอบไปพบนางไอ่  และได้สมัครรักใครกัน  และสัญญาว่าจะมาสู่ขอตามประเพณีอีกครั้ง
ครั้นถึงกลางเดือนหกพญาขอมจะทำบุญบั้งไฟ  จึงมีใบบอกไปยังหัวเมืองต่างๆ  ที่เป็นเมืองบริวารให้ทำบั้งไฟไปจุดในงาน  ท้าวผาแดงซึ่งไม่ได้รับใบบอก  แต่ทราบข่าว  จึงจัดบั้งไฟเหมือนไปร่วมบุญด้วย  จึงได้ไปพบนางไอ่เป็นครั้งที่ 2 ในการจุดบั้งไฟพญาขอม  ให้มีการพนันว่า  ถ้าบั้งไฟใครชนะ  จะให้ครองสมบัติพน้อมทั้งนางสนมกำนัลปรากฏว่า  บั้งไฟของเมืองอื่นๆขึ้นหมด  ส่วนของพญาขอมไม่ขึ้น (ซุ) และของท้าวผาแดงแตกกลางบั้ง  แต่พญาขอมก็มิได้ทำตามสัญญาเจ้าเมืองต่างๆ  ซึ่งเป็นบริวารเห็นว่าผิดสัญญาจึงกลับกันหมด  เหลือแต่ท้าวผาแดง  หลังจากที่ได้พบรักและเสร็จงานแล้ว  ท้าวผาแดงจึงลากลับ  พร้อมกับนำความทุกข์กลับไปด้วย (ทุกเพราะความรัก  กลัวจะไม่สมหวัง)
ตลอดเวลางานบั้งไฟท้าวภังคี  มิได้ทำบั้งไฟมาร่วม  แต่ได้จำแลงแปลงตัวมาร่วมงาน  และมาหลงรักนางไอ่ด้วยเช่นกัน  แต่ก็ไม่มีโอกาสเข้าใกล้ชิดนางเหมือนท้าวผาแดง  ท้าวภังคีได้พกเอาความรักกลับบ้าน  ถึงเมืองศรีสัตตนาคนหุต  แล้วก้ไม่เป็นอันกินอันนอน  ทุรนทุราย  จึงได้ลาบิดารมารดาเพื่อมาพบนางไอ่  บิดาห้ามว่าเมืองมนุษย์นั้นอันตรายมาก  อย่าไปเลย  แต่ก็ไม่อาจจะห้ามปรามได้ (ภัคคีมีกรรมจะต้องไปตามกรรม)   เมื่อไปถึงเมืองเอกธีตาท้าวภังคีกับบริวาร  ได้แปลงตนเป็นสัตว์ต่างๆ  ตัวภังคีได้แปลงเป็นกระรอกด่อน (เผือก) มีกระดิ่งทองแขวนคอด้วย  ได้ปืนป่วยกระดดอยู่บนต้นงิ้วใกล้หอปางของนางไอ่  สายตาก็สอดส่ายมองดูนางไอ่  สายตาก็สอดส่ายมองดูนางไอ่ นางไอ่เห้นกระรอกด่อน  มีกระดิ่งทองด้วย  ก็อยากได้จึงให้ตามนายพรานมายิงกระรอก  เมื่อกระรอกถูกยิงด้วยลูกธนู  มันได้อธิญานต่อเทพยดาว่า “ขอให้เนื้อของข้าจงเอร็ดอร่อย  และมีพกกินแก่คนทั้งเมือง”  เมื่อกระรอกตายแล้ว  ชาวเมืองก็ได้แบ่งเนื้อกัน  ยกเว้นแม่หม้าย  เพราะเขาถือว่าแม่หม้ายมิได้รับให้ราชการ  ผิวมิได้เป้นทหาร  ตำรวจ  ฝ่ายบริวารท้าวภังคีเห้นว่าเจ้านายตนเสีนชีวิตแล้ว  ก็รีบไปบอกท้าวสุทโธนาค  ท้าวสุทโธนาคจึงเกณฑ์พลนับหมื่น  ให้ไปถล่มทลายเมืองพญาขอม  ใครกินเนื้อภังคีต้องเอาให้ตายหมด  กองทัพนาคที่มหึมาจึงเคลื่อนลงใต้  สู่เมืองพญาขอมทันที
วันนั้นเอง  ท้าวผาแดงซึ่งรักนางไอ่แทบหัวอกจะเป็นหนอง  ทนอยู่ไม่ได้เช่นกันจึงรีบห้อม้าบักสาม  จากผาโผง  สู่เอกธีตา  ตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นค่ำ  จึงมาถึง  เมื่อมาถึงนางไอ่ก็ต้อนรับด้วยความดีใจ  พร้อมทั้งจัดอาหารมาเลี้ยงด้วย  เมื่อท้าวผาแดงรู้ว่าเป็นแกงกระรอก  ก็มิได้แตะต้อง และปรับทุกข์กับนางไอ่ว่า  กระรอกตัวนี้มิไช่กระรอกธรรมดา  มันเป็นท้าวภังคีแปลงกายมา  ใครกินเนื้อท้าวภังคีแล้วบ้านเมืองจะถล่มถึงตาย  พูดจบกองทัพนาคก็มาถึงเมืองแผ่นปฐพีเลื่อนถล่มโครมครามใกล้เข้ามา  ท้าวผาแดงจึงให้นางไอ่เตรียมข้าวของบางชิ้นเช่น  แหวน ฆ้อง  และกลองเล็ก  ที่พอจะเอาติดตัวไปได้  แล้วรีบซ้อนท้าย  ตนเองก็ควบม้าบักสามห้อยออกจากเมืองทันที่  แต่ก็หนีไม่พ้น  แผ่นดินทรุด  ถล่มตามหลังไปไม่หยุด  จนนางไอ่ต้องโยนฆ้องทิ้งไป  และโยนกล้องทิ้ง  สุดท้ายก็โยนแหวนทิ้ง  เมื่อม้าหมดแรงวิ่งช้าลง  พญานาคก้เองหางตวัดเกี่ยวเอานางไปลงจากหลังม้า  ท้าวผาแดงก็ควบหนีต่อไป  พวกนาคก็ตามไปอีกเพราะมีแหวนนางไอ่ติดตัวไปด้วย  ท้าวผาแดงจึงทิ้งแหวนเสีย  ตนเองจึงปลอดภัย  นาคได้เอาแหวนกลับไปสวมให้นางไอ่  แล้วอุ้มนางลงสู่บาดาลเมืองนาคต่อไป  บ้านใครที่กินเนื้อกระรอกได้ถล่มทลายกลายเป็นทะเลไปหมด  เหลือแต่บ้านแม่หม้าย คงเป็นดอนแม่หม้าย  ให้เราเห็นอยู่จนทุกวันนี้  พระเณรก็โชคดี  ไม่ได้ฉันด้วย  วัดวาจึงไม่ถล่มทลายไปด้วย
ท้าวผาแดงกลับไปถึงเมืองผาโพงแล้ว  เสียใจที่สูญเสียคนรักไป  จึงอธิฐานต่อเทพยดาว่าจะขอตายเพื่อไปสู้เอานางไอ่กลับมา  แล้วก็กลั่นใจตายบนปราสาท  ท้าวเธอได้ไปเกิดเป็นหัวหน้าผี ได้นำกองทัพไปสู้กับพวกนาค  กองทัพนากกับกองทัพผีได้ต่อสู้กันอยู่นานน้ำในบึงในหนองขุ่นข้น ดินบนบกกลายเป็นฝุ่นละอองตลบไปทั่วบริเวณพระอินทร์จึงลงมาระงับศึก  ให้ผีกลับไปเมืองผี  ให้นาคกลับไปเมืองนาค  ส่วนนางไอ่ผู้เป็นต้นเหตุให้รออยู่ที่บาดาลก่อนรอให้พระศรีอารย์ลงมาติดสินว่า  นางจะเป็นของใคร  นางไอ่จึงต้องรออยู่จนกว่าจะถึงวันนั้น

นางตะเภาทอง

จาก ไกรทอง



นางในวรรณคดีไทย : ตะเภาทอง จาก ไกรทอง 



     นางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐี วันหนึ่งทั้ง 2 ลงไปเล่นน้ำในคลองที่ท่าน้ำหน้าบ้าน กับบ่าวไพร่ด้วยความสนุกสนานอีกหลายคน ในเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์นิสัยอันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำหน้าท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบนางแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง
ประวัตินางตะเภาทอง
มาจากนิทานพื้นบ้านภาคกลาง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก นางตะเภาทองเป็นสาวงามลูกเศรษฐีเมืองพิจิตร มีพี่สาวฝาแผด ชื่อ นางตะเภาแก้ว เมื่อคราวพญาจระเข้ชื่อ ชาละวัน ออกอาละวาดในแม่น้ำ ได้คาบตัวนางตะเภาทองไป เศรษฐีผู้พ่อจึงประกาศหาคนช่วยปราบชาละวันและพาตะเภาทองกลับมา ถ้าทำสำเร็จจะยกลูกสาวทั้งสองคนให้พร้อมยกสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง ในที่สุดได้ไกรทองอาสามาปราบจนสำเร็จ
เนื้อเรื่อง
 มีถ้ำอยู่ในแม่น้ำแห่งหนึ่ง ภายในถ้ำมีพญาจระเข้ตัวหนึ่งชื่อ พญาชาละวัน มีนางจระเข้สองตัวเป็นภรรยา คือ นางวิมาลา และนางเลื่อมลายวรรณ สามารถจะกลายร่างเป็นมนุษย์ได้ พญาชาละวันมีนิสัยดุร้าย และชอบกินเนื้อมนุษย์ไม่เหมือนกับจระเข้ที่เป็นปู่ คือท้าวรำไพที่ถือศิลภาวนาไม่กินสิ่งมีชีวิต
 วันหนึ่ง พญาชาละวันออกมาจากถ้ำเพื่อหาเนื้อมนุษย์กินเป็นอาหาร ได้ว่ายตามน้ำมาจนถึงท่าน้ำเมืองพิจิตร ได้พบสองสาวพี่น้อง ตะเภาแก้วและตะเภาทอง บุตรสาวเจ้าเมืองพิจิตรเล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำหน้าบ้านของตนอยู่พอดี ความงามของตะเภาทอง เป็นที่ต้องตาต้องใจจึงเข้าไปคาบนางไปสู่ถ้ำของตนแล้วกลายร่างเป็นชายหนุ่ม รูปงาม และเกี้ยวพาราสีนางจนนางหลงรักและตกเป็นภรรยาคนที่สาม ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างภรรยาทั้งสามในขณะเดียวกันเจ้าเมือง พิจิตรได้ป่าวประกาศหาคนที่สามารถสังหารจระเข้และนำลูกสาวกลับมาในขณะมี ชีวิตได้ จะได้แต่งงานกับนางและได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัติของตน "ไกรทอง" เป็นชายหนุ่มอายุ 18 ปี เป็นชาวเมืองนนทบุรีได้อาสาปราบชาละวันเพราะได้เล่าเรียนวิชาอาคมมีความ ชำนาญในการปราบจระเข้และสามารถระเบิดน้ำเป็นทางเดินเข้าไปได้ ไกรทองมีของวิเศษ อย่างที่อาจารย์ให้ไว้ คือ เทียนชัย มีดหมอลงอาคม และหอกสัตตะโลหะ เพื่อใช้ปราบจระเข้

 คืนนั้นพญาชาลาวันฝันไม่ดี จึงรีบไปปรึกษาปู่ คือท้าวรำไพผู้ซึ่งรู้ว่าหลานของตนกำลังชะตาขาด


จึงให้ชาละวันจำศีลอยู่ในถ้ำเป็นเวลา วัน ชาละวันเกิดความกลัวจึงสั่งให้บริวารจระเข้นำหินมา

ปิดปากถ้ำไว้อย่างแน่นหนา และเริ่มถือศีล ไกรทองได้ต่อแพลอยลงน้ำและประกอบพิธีเรียกชาละวัน


มาต่อสู้ เมื่อสุดจะทนชาละวันจึงแผลงฤทธิ์พังประตูถ้ำกลายเป็นจระเข้ใหญ่ ทั้งคู่ต่อสู้กันจนในที่สุด


ชาลาวันก็เพลี่ยงพล้ำถูกแทงบาดเจ็บและหนีกลับไป ยังถ้ำ ไกรทองจึงตามไปที่ถ้ำและได้เห็นวิมาลา


จึงลวนลาม เพื่อยั่วให้ชาลาวันออกมาที่ซ่อน เสียงหวีดร้องของวิมาลาทำให้ชาลาวันออกมาจากที่


ซ่อน แล้วถูกแทง ไกรทองสามารถช่วยตะเภาทองได้ เจ้าเมืองพิจิตรจึงมอบรางวัลให้ไกรทองตาม


สัญญาพร้อมกับยกลูกสาว อีกคนหนึ่งคือตะเภาแก้วให้เป็นภรรยาของไกรทองด้วย ไกรทองจึงได้


สองพี่น้องเป็นภรรยาพร้อมกับสมบัติอีกส่วนหนึ่งจากท่านเจ้า เมือง ทั้งสามจึงใช้ชีวิตอยู่ในเมืองพิจิตร

อย่างมีความสุข


นาง สาวิตรี

จากเรื่องสาวิตรี




   สาวิตรี นั้นเป็นบุตรของมหาราชอัชวาปตี มหารานีมัลวี ซึ่งมหาราชอัชวาปตีนั้น ไม่มีบุตรชายเลย จึงได้ทำพิธีภาวนาต่อพระแม่มาเตสวาตี (พระแม่กายาตรี) มาถึง 16 ปี จนพระแม่มาประทานพรให้ แต่เนื่องจากในโชคชะตาของมหาราชนั้น ไม่ได้มีพรของบุตรชายเลย พระแม่จึงได้มอบบุตรสาวที่เก่งกาจสามารถ มีสติปัญญา และรูปโฉมอันงดงามให้ เทวฤษีนารัทมุนีได้ตังชื่อให้เด็กน้อยว่าสาวิตรี สาวิตรีเป็นคนที่ฉลาดและงดงามมาก จนไม่มีชายใดกล้ามาสู่ขอ มหาราชอัชวาปตีจึงได้มอบหมายให้นางออกหาสามีเอง

         สาวิตรี ได้เดินทางไปหลายเมืองจนมาถึงเมืองของมหาราชจันทราเซน มาดันราชกุมารของมหาราชนั้นเป็นคนที่เลวร้ายมาก มักมากในกามคุณและไม่ให้เกียรติสตรีเลย เขาได้เข้ามาเพื่อที่หมายจะย่ำยี แต่สาวิตรีได้หลอกมาดันแล้วทำพิธีผูกรัคชิด เพื่อให้มาดันกลายเป็นพี่ชายของตน มาดันได้กล่าวคำอาฆาตกับสาวิตรีไว้ สาวิตรีจึงหมดหวังที่จะหาสามีตามที่พ่อและแม่ได้มอบหมายไว้ นางจึงออกเดินเพื่อหย่อนอารมณ์ พลันก็ได้ยินเสียงตัดไม้ นางจึงแอบเข้าไปดูก็พบกับชายรูปงามกำลังต่อเถียงกับนางยักษ์ที่เข้ามาพัวพัน โดยที่นางยักษ์กล่าวชักชวนให้ชายผู้นั้นมาร่วมหลับนอนด้วย ชายคนนั้นจึงกล่าวกับนางยักษ์ว่า ความอายเป็นคุณสมบัติของสตรี หญิงใดที่ไม่มีคุณสมบัตินี้ก็สมควรที่จะตายไป นางยักษ์จึงกลับไปด้วยความผิดหวัง แต่คำนี้เองที่ทำให้สาวิตรีหลงใหล

          ใน ขณะที่นางซุ่มอยู่ในพุ่มไม้นั้นพลันก็ปรากฏเสือตัวใหญ่ไล่กวดนาง ชายหนุ่มจึงได้เข้ามาช่วยนางโดยที่ขว้างขวานเข้าที่คอเสือ และในขณะเดียวกัน มาดันก็เข้ามาแล้วยิงธนูเข้าที่หลังเสือ เมื่อชายหนุ่มเข้ามาหาสาวิตรี มาดันก็ได้เข้ามากล่าวคำหยาบช้าต่อสาวิตรี ชายหนุ่มจึงได้เข้าต่อสู้เพื่อปกป้องสาวิตรีไว้ สาวิตรีตกหลุมรักชายหนุ่มมากขึ้น มหามนตรีสุเกรชีเข้ามาหลังจากที่เขาได้ไล่มาดันไปแล้ว เขาแนะนำตัวเองว่า ชื่อพระสัตยวานเป็นบุตรของอดีตมหาราชจันทราเซนซึ่งตาบอด มหามนตรีสุเกรชีจึงได้เข้าไปสู่ขอสัตตีอาวารกับอดีตมหาราช แต่มหาราชไม่ยอมรับในเรื่องนี้ สาวิตรีจึงได้เข้าไปกล่าวกับอดีตมหาราชเอง ทำให้ทั้งมหาราชและมเหสียินยอม

          ในขณะที่งานมงคลจะเกิดขึ้นนั้น พระนารทพรหมฤษีก็ได้เดินทางมาเพื่ออวยพร แต่ระหว่างทางได้พบกับพระยมราช พระยมราชจึงได้แจ้งว่า พระสัตยวานนั้นเหลืออีกเพียง 1 ปี เมื่อสาวิตรีรู้ข่าวจากพระฤษีนั้น นางก็มั่นคงในคำพูดจึงได้เข้าพิธีสมรสกับสัตตีอาวาร โดยที่ไม่ฟังคำค้านจากบิดามารดาเลย นางได้เข้าไปภาวนาต่อพระแม่มาเตสวตี พระแม่มาเตสวตีจึงได้แนะนำนางให้ถือศีลอดอาหารอย่างเคร่งครัดในสามวันก่อน ครบกำหนดและในวันที่สี่ให้ภาวนา เพื่อขอพรพระเจ้าให้กับพระสัตยวาน นางจึงทำตามจนครบกำหนดโดยที่หน้าที่ปรนิบัตพ่อแม่และสามีไม่บกพร่องเลย และในสี่วันสุดท้ายนั้น นางได้เริ่มถือศีลอาคานโซบาวาตี และในขณะที่นางถือศีลอยู่นั้น ยมราชได้มาก่อกวนนางทุกทางแต่ไม่สำเร็จ และในวันที่สี่นั้น นั้นนางไม่ยอมทานอาหารเลย จนกระทั่งวันหนึ่งพระสัตยวานจะเสด็จป่าเพื่อหาอาหาร นางสาวิตรีจึงขอตามพระสวามีไปด้วย ขณะที่เก็บผลไม้อยู่นั้น ก็ถึงกาลที่พระสัตยวานจะสิ้นพระชนม์ เมื่อพระสัตยวานสิ้นพระชนม์ นางสาวิตรีก็เห็นพระยมซึ่งมารับวิญญาณของพระสัตยวาน

           นางจึงได้ออกติดตามไปจนถึงแม่น้ำเวตาล ยมราชได้บอกว่า นางข้ามไม่ได้เพราะภพหน้าคือภพของคนตาย สาวิตรีจึงขอพรจากพระแม่กามเทนุให้พาข้ามไป ยมราช เห็นความตั้งใจของนางจึงได้กล่าวเตือนอีกครั้งเพราะข้างหน้าคือเทวโลก ที่ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ ยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี นางจึงขอให้ดวงตาของพ่อและแม่สามีมองเห็นได้อีกครั้ง ยมราชจึงได้ให้พรดังนั้นแล้วเดินทางต่อไป            
           นางสาวิตรีก็ยังดั้งด้นตามยมราชไปโดยขอพรกับพระแม่กาลี พระแม่กาลีจึงได้ให้ตรีศูลพาข้ามไป ยมราช เห็นดังนั้น จึงได้บอกกับสาวิตรีว่าข้างหน้าเป็นโลกสวรรค์ซึ่งจะไปได้เฉพาะเทวดาเท่านั้น ให้นางสาวิตรีกลับไปแต่สาวิตรีไม่ยอม ยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี สาวิตรีจึงขอบันลังค์ของพ่อแม่สามีคืน ยมราชให้พรแล้วเดินทางต่อ 
          
           นางสาวิตรียังดั้งด้นติดตามยมราชต่อไป นางขอพรกับพระแม่ลักษมี พระแม่ลักษมีจึงได้ให้ดอกบัวพาสาวิตรีข้ามโลกสวรรค์ไป และ เมื่อยมราชเห็นดังนั้นจึงได้บอกสาวิตรีว่า ข้างหน้าเป็นป่าสวรรค์และเป็นวรรณะโลกที่ผู้คนบูชาที่ซึ่งแม้แต่เทวดาถ้าไม่ ได้รับอนุญาตก็เข้าไปไม่ได้ ให้นางสาวิตรีกลับไป แต่สาวิตรีไม่ยอมยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี นางจึงขอให้พ่อและแม่ที่ไม่มีลูกชายเลยของนางมีลูก 100 คนเพื่อความรุ่งเรือง ยมราชให้พรแล้วเดินทางต่อไป             
            นางสาวิตรีเดินทางตามยมราชต่อ โดยขอพรกับพระแม่สุรัสวดี พระแม่สุรัสวตีจึงได้มองหงส์ของพระแม่ให้พาสาวิตรีไปเมื่อ ถึงยมโลก ยมราชได้บอกกับสาวิตรีว่า ที่นี่คือยมโลก ไม่มีใครเข้าไปได้นอกจากยมราชจะอนุญาต แต่สาวิตรีไม่ยอมฟังได้เดินตามยมราชเข้าไป ยมราชจึงหันมาบอกกับสาวิตรีว่าลูกรักอย่าได้ดื้อไปเลยกลับไปเถอะ สาวิตรีบอกว่าเมื่อท่านเรียกข้าว่าลูกท่านก็เหมือนพ่อ แล้วพ่อจะไม่ให้ลูกเข้าบ้านหรือ ยมราชจึงต่อรองกับสาวิตรี ว่าเจ้าขอพรได้ 1 ข้อ เว้นแต่ชีวิตของสามี แล้วกลับไป สาวิตรีจึงขอมีบุตรถึง 100 คน ยมราชได้ให้พรดังที่ขอ แต่สาวิตรีไม่ยอมกลับ ยมราชจึงหันมาดุสาวิตรี นางสาวิตรีเลยได้กล่าวว่าหากท่านให้พรข้ามีลูกถึง100คน แต่หากข้าปราศจากสามีแล้ว แล้วข้าจะตั้งท้องได้อย่างไร สุดท้ายยมราชเลยยอมคืนวิญญานพระยาสัตยวานคืนให้ และได้ครองคู่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข




                                                                   นางกากี

จากเรื่องกากี







              รื่นรื่นชื่นจิตพี่จำได้……….. เหมือนเมื่อไปร่วมภิรมย์ประสมศรี 

ในสถานพิมานสิมพลี……… กลิ่นยังซาบทรวงพี่ทั้งวรกาย

นิจจาเอ๋ยจากเชยมาเจ็ดวัน……กลิ่นสุคันธรสรื่นก็เหือดหาย 

ฤๅว่าใครแนบน้องประคองกาย ..กลิ่นสายสวาทซาบอุรามาฯ

       


           กากี นับเป็นนางเอกที่อื้อฉาวที่สุดก็ว่าได้ นางกากีนี้นอกจากจะมีรูปกายงดงามราวกับเทพธิดาแล้ว ยังมีกลิ่นกายหอมเป็นเสน่ห์พิเศษอีกอย่างหนึ่ง ชายใดที่แตะต้องสัมผัสนางกลิ่นกายนางก็จะหอมติดชายคนนั้นไปถึงเจ็ดวันเลยที เดียว นางกากีเป็นพระมเหสีของท้าวบรมพรหมทัต ซึ่งโปรดการเล่นสกามาก และมีพระยาครุฑเวนไตยซึ่งแปลงร่างเป็นมานพรูปงามมาเล่นสกาอยู่ด้วยเนืองๆ จนวันหนึ่งเล่นเพลิน มิได้ไปหานางกากี นางจึงมาแอบดู และสบตาเข้ากับพระยาครุฑแปลง ต่างก็เกิดอาการหวั่นไหว ภาษาสมัยใหม่ก็ต้องว่าเกิดอาการ”ปิ๊ง”กัน ต่อมาพระยาครุฑได้บินมาลักพานางไปอยู่ที่วิมานฉิมพลี ทำให้ท้าวพรหมทัตกลัดกลุ้มพระทัย คนธรรพ์นาฏกุเวร (คนธรรพ์คือเทวดาชั้นผู้น้อยที่มีความชำนาญด้านดนตรี) ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของท่านท้าวก็อาสาจะพานางกลับมาให้ จึงได้แปลงตัวเป็นไรแทรกขนครุฑตามไปวิมานของครุฑ ครั้นพระยาครุฑบินออกไปหาอาหาร นาฏกุเวรคนธรรพ์ก็ออกมา แต่แทนที่จะพานางกลับเมือง กลับเกี้ยวพาและเล้าโลมนางจนได้เสียกัน แล้วกลับมารายงานท่านท้าวว่านางกากีจะอยู่กับครุฑและตนได้เสียกับนางแล้ว เพื่อให้ครุฑรังเกียจนาง ท่านท้าวก็โกรธแต่ทำอะไรมิได้ ต่อมาพระยาครุฑแปลงมาเล่นสกาอีก ก็ถูกคนธรรพ์เล่นพิณเยาะเย้ย เมื่อสอบถามได้ความจริง พระยาครุฑก็โกรธนางกากี นำกลับมาปล่อยไว้ในเมือง ครั้นท่านท้าวเห็นนางก็ว่าถากถางและนำนางไปลอยแพกลางทะเล ต่อมานางได้รับความช่วยเหลือจากนายสำเภา ซึ่งได้รับนางเป็นภรรยา แต่เคราะห์กรรมนางก็ยังไม่หมด ต่อมาถูกนายโจรมาลักพาตัวไปเพราะหลงใหลในความงาม ปรากฏว่าในหมู่โจรก็เกิดการแย่งชิงนางขึ้นมาอีก นางหนีไปได้ ต่อมาได้เป็นมเหสีของท้าวทศวงศ์ กษัตริย์อีกเมือง สุดท้ายปรากฏว่านาฏกุเวรที่ได้ครองเมืองแทนท้าวบรมพรหมทัตที่สวรรคตลง ก็ตามไปชิงนางคืนมาและฆ่าท้าวทศวงศ์เสีย เรื่องก็จบลง นับดูแล้วนางกากีมีสามีถึง ๕ คน แสดงว่าต้องเป็นคนที่เซ็กซี่มีเสน่ห์ดึงดูดเพศตรงข้ามอย่างมาก จึงต้องตกระกำลำบากถูกสังคมประณามเพราะเสน่ห์แรงเกินไปนี่เอง







นางเงือก
จากพระอภัยมณี


      นางเหงือก มีร่างครึ่งคนครึ่งปลา คือกายท่อนบนเป็นหญิงสาวสวย แต่ท่อนล่างตั้งแต่เอวลงไปเป็นมีหางเป็นปลา อาศัยอยู่ในทะเล นางเหงือกกับพ่อแม่ของนางได้ช่วยพา พระอภัยมณีกับ สินสมุทร หนี นางผีเสื้อสมุทร ไปที่เกาะแก้วพิสดาร แต่พ่อแม่ของนางหนีไม่ทันจึงถูกนางผีเสื้อสมุทรจับกิน แล้วนางเหงือกก็ตกเป็นภรรยาของพระอภัยมณี ต่อมาพระอภัยมณีกับสินสมุทรบวชเป็นโยคี และอาศัยเรือของท้าวสิลราชกลับไปบ้านเมือง ก่อนจากกันพระอภัยมณีไปร่ำลานางเหงือกและฝากแหวนกับปิ่นไว้ให้ลูกในท้องของ นางด้วย เวลาผ่านไปนางเหงือกคลอดลูกชาย รูปร่างหน้าตาเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ แล้วฝากให้ โยคี เลี้ยงดูให้ เพราะนางเลี้ยงลูกเองไม่สะดวก โยคีตั้งชื่อให้ว่า สุดสาคร


ท้าวสุทัศน์และพระนางประทุมเกสร ผู้ครองกรุงรัตนา มีพระโอรสสององค์ คือ พระอภัยมณีและศรีสุวรรณ ได้รับสั่งให้โอรสทั้งสองไปเรียนศิลปวิทยา ในที่สุดพระอภัยมณีได้เรียนวิชาปี่ ขณะที่ศรีสุวรรณได้เรียนวิชากระบี่กระบอง เมื่อสำเร็จวิชา ก็ได้กลับคืนพระนคร ทว่าพระบิดาทรงกริ้ว ด้วยพระโอรสไปเรียนวิชาชั้นต่ำ ไม่คู่ควรแก่กษัตริย์ จึงไล่ทั้งสองออกจากพระนคร
ทั้งสองเดินทางมาถึงชายทะเล ได้พบกับสามพราหมณ์คือ โมรา สานนท์ และวิเชียร ได้สมัครเป็นมิตรกัน แล้วพระอภัยมณีเป่าปี่ให้คนทั้งหมดฟัง ทั้งหมดเคลิบเคลิ้มตามเพลงปี่จนหลับไป เพลงปี่ดังไปถึงนางผีเสื้อสมุทรที่อาศัยอยู่ในทะเล เมื่อตามเสียงปี่มาพบพระอภัยมณีก็หลงรัก จึงลักพาตัวพระอภัยมณีไปอยู่กับนางบนเกาะ แล้วจำแลงร่างเป็นหญิงสาวสวยงาม แม้พระอภัยรู้อยู่ว่านั่นคือนางยักษ์ แต่ก็ไม่สามารถหนีไปไหนได้ ทั้งสองอยู่กินกันมาจนนางผีเสื้อให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่ง ชื่อว่า สินสมุทร
ด้านศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์เมื่อตื่นขึ้นมาไม่พบพระอภัยมณีก็เที่ยวค้นหา จนไปถึงเมืองรมจักรพบศึกติดพัน ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์ช่วยรบป้องกันเมืองได้ ได้พบนางเกษราธิดาของเจ้าเมือง ต่อมาศรีสุวรรณได้อภิเษกนางเกษรา มีพระธิดาชื่อนางอรุณรัศมี
วันหนึ่งสินสมุทรออกไปเที่ยวเล่นเจอพ่อเงือกแม่เงือก จึงจับตัวมาให้พระอภัยดู พ่อเงือกแม่เงือกวอนขอชีวิตโดยเสนอจะพาพระอภัยหนี พระอภัยจึงออกอุบายให้นางผีเสื้อไปถือศีลบนเขาสามวัน ระหว่างนั้นเขาก็พาสินสมุทรหนี พ่อเงือกแม่เงือกพาพระอภัยและสินสมุทรมาเกือบถึงเกาะแก้วพิสดารแล้ว แต่นางผีเสื้อรู้ตัวติดตามมาทัน จับพ่อเงือกแม่เงือกฆ่าเสีย นางเงือกผู้ลูกพาพระอภัยกับสินสมุทรหนีไปจนถึงเกาะแก้วพิสดารได้สำเร็จ บนเกาะนี้มีพระฤๅษีมีฤทธิ์มาก นางผีเสื้อจึงไม่กล้าทำอะไร ทั้งหมดอาศัยอยู่บนเกาะแก้วพิสดาร พระอภัยได้นางเงือกเป็นภริยา
ฝ่ายท้าวสิลราชกับพระนางมณฑา ผู้ครองเมืองเมืองผลึก มีพระธิดาองค์เดียวคือ นางสุวรรณมาลี ทรงเป็นคู่หมั้นอยู่กับอุศเรน เจ้าชายเมืองลังกา วันหนึ่งนางสุวรรณมาลีเกิดนิมิตฝัน โหรทำนายว่าต้องออกเที่ยวทะเลจะได้พบลาภ ทั้งหมดจึงเดินเรือเที่ยวท่องไป แต่เกิดพายุใหญ่พัดเรือไปถึงเกาะนาควาริน คำทำนายของปู่เจ้าทำให้ท้าวสิลราชพากองเรือมุ่งหน้าไปยังเกาะแก้วพิสดาร ได้พบพระอภัยมณีและรับพระอภัยมณีกับสินสมุทรขึ้นเรือไปด้วยเพื่ออาศัยกลับบ้านเมือง แต่เมื่อเรือออกจากเกาะ นางผีเสื้อสมุทรก็มาอาละวาดอีกจนเรือแตก ท้าวสิลราชกับบริวารส่วนใหญ่สิ้นชีพ สินสมุทรพานางสุวรรณมาลีหนีไปได้ พระอภัยมณีเป่าปี่สังหารนางยักษ์
ทั้งหมดแตกกระจายพลัดพรายจากกัน พระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากอุศเรน คู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี ที่ออกเรือมาตามหาเพราะหายไปนาน ส่วนสินสมุทรกับนางสุวรรณมาลีได้โจรสุหรั่ง โจรสลัดในน่านน้ำนั้นช่วยไว้ได้ แต่โจรคิดทำร้าย สินสมุทรจึงสังหารโจรแล้วครองเรือมาเอง แล้วได้พบศรีสุวรรณที่ออกล่องเรือเที่ยวตามหาพี่ชาย ทั้งหมดเดินทางไปด้วยกันจนมาพบพระอภัยมณีกับอุศเรน สินสมุทรรักนางสุวรรณมาลีอยากได้เป็นแม่ จึงเกิดวิวาทกับอุศเรน พระอภัยมณีไปเมืองผลึกกับนางสุวรรณมาลีและได้ขึ้นครองเมืองแทนท้าวสิลราช อุศเรนแค้นและกลับเมืองลังกายกทัพมาตีเมืองผลึก แต่แพ้อุบายนางวาลีจนสิ้นชีวิต นางละเวงวัณฬาผู้น้องสาวคิดแก้แค้น จึงใช้รูปของตนทำเสน่ห์ส่งไปหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยกทัพมาตีเมืองผลึก
ด้านเกาะแก้วพิสดาร นางเงือกให้กำเนิดบุตรชื่อ สุดสาคร เป็นเด็กฉลาดแข็งแรง วันหนึ่งสุดสาครจับม้านิลมังกรได้ พระฤๅษีสอนวิชาให้แล้วเล่าเรื่องพระอภัยมณีให้ฟัง สุดสาครออกเดินทางตามหาพระอภัยมณีจนไปถึงเมืองการเวก ระหว่างทางถูกชีเปลือยหลอกขโมยไม้เท้าและม้านิลมังกรไป แต่พระฤๅษีมาช่วยไว้ เมื่อชิงไม้เท้าและม้านิลมังกรคืนมาได้ ก็เข้าเมืองการเวก กษัตริย์เจ้าเมืองรักใคร่เอ็นดูสุดสาคร จึงเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรมอยู่ด้วยกันกับนางเสาวคนธ์และหัสไชยพระธิดาและพระโอรส จนเติบใหญ่ สุดสาครคิดออกตามหาพ่อ เจ้าเมืองการเวกจึงจัดกองเรือให้ โดยมีนางเสาวคนธ์และหัสไชยติดตามไปด้วย ทั้งหมดล่องเรือไปถึงเมืองผลึกขณะถูกทัพลังกาและทัพพันธมิตรล้อมเมือง
พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร และสุดสาคร ช่วยเมืองผลึกรบจนสามารถเอาชนะทัพอื่นๆ ได้ พระอภัยมณีได้รูปวาดนางละเวงที่ลงเสน่ห์ทำให้เมืองต่าง ๆ พากันยกมารบเมืองผลึกตามคำขอนางนาง แล้วเกิดต้องมนต์ของนางละเวงเสียเอง พระอภัยยกทัพตามไปตีเมืองลังกา แต่รบกันเท่าใดก็ไม่แพ้ชนะเสียที ต่อมาพระอภัยมณีลอบติดรถนางละเวงเข้าไปในวัง เมื่อนางละเวงได้พบพระอภัยก็ฆ่าไม่ลง กลับหลงรักจนได้เป็นสามีภรรยากัน ส่วนบริวารอื่นของนางละเวงคือนางยุพาผกา รำภาสะหรี และสุลาลีวัน ใช้เสน่ห์กับฝ่ายพระอภัยมณี ได้แก่ ศรีสุวรรณ สินสมุทร และแม้แต่สุดสาครที่ครองตนเป็นฤๅษีก็ต้องมนต์ไปด้วย จนทั้งหมดหลงมัวเมาติดพันอยู่ในลังกาไม่ยอมกลับเมืองผลึก นางสุวรรณมาลีกับอรุณรัศมีและเสาวคนธ์จึงมาตาม แต่ไม่เป็นผล จนต้องให้หัสไชยช่วยแก้เสน่ห์ให้ลุงและเหล่าพี่ กษัตริย์ทั้งหมดยอมสงบศึกต่อกัน แต่นางเสาวคนธ์แค้นสุดสาครจึงหนีไปเมืองวาหุโลม สุดสาครต้องติดตามไปจนภายหลังจึงได้อภิเษกกัน
ด้านกรุงรัตนา ท้าวสุทัศน์สิ้นพระชนม์ พระอภัยมณีกับเหล่ากษัตริย์จึงเดินทางไปทำศพ มังคลาบุตรของพระอภัยมณีกับนางละเวงได้ครองเมืองลังกา แต่ถูกบาทหลวงยุแหย่จึงแค้นเคืองเหล่ากษัตริย์ จับตัวนางสุวรรณมาลีและพระญาติมาขังไว้ หัสไชยกับสุดสาครยกทัพมาช่วยแต่ไม่สำเร็จ แม้แต่นางละเวงผู้เป็นมารดาเองก็ห้ามปรามไม่ได้ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณยกทัพตามมาจึงเอาชนะศึกได้ จบศึกแล้วพระอภัยมณีอภิเษกโอรสทั้งหลายให้ครองเมืองต่าง ๆ แล้วออกบวชพร้อมกับนางละเวงและนางสุวรรณมาลี


นางจินตหราวตี

จาก เรื่องอิเหนา




  จิ นตะหราเป็นพระธิดาท้าวหมันหยากับนางจินดาส่าหรีประไหมสุหรี เกิดในปีเดียวกับอิเหนาแต่อ่อนเดือนกว่า จึงมีฐานะเป็นน้อง และด้วยความงามของนางที่ถูกบรรยายไว้ว่า 
     
"งามงอนอ่อนระทวยนวยแน่ง       ดำแดงนวลเนื้อสองสี

ผ่องพักตร์ผิวพรรณดังจันทรี       นางในธานีไม่เทียมทัน"

           ทำ ให้อิเหนาหลงใหลจนไม่อยากกลับบ้าน เพียรพยายามใกล้ชิดกับจินตะหรา อิเหนามีคู่หมั้นชื่อนางบุษบา ขณะที่จะอภิเษกสมรส อิเหนาได้หนีออกไปประพาสป่า และได้ปลอมตัวเป็นโจรชื่อ ปันหยี เดินทางไหเมืองหมันหยา ระหว่างทางได้พบเจ้าเมืองรายทางได้ถวายพระธิดา คือ นางสการะวาตี กับนางมาหยารัศมีให้เป็นข้ารับใช้ อิเหนาได้สู่ขอนางจินตะหรา แต่ท้าวหมันหยาไม่กล้ายกให้ บอกให้อิเหนาไปคุยกับนางจินตะหราเอง อิเหนาไม่ยอมอถิเษกกับบุษบา ท้าวดาหาโกรธจึงรับสั่งว่าใครมาสู่ขอจะยกให้ จรกาได้มาสู่ขอ และได้เกิดศึกชิงนางบุษบา อิเหนาจำใจยกทัพไปช่วย  เมื่อพบนางบุษบาก็หลงรัก และไม่กลับไปที่เมืองหมันหยา นางจินตะหรนาน้อยใจมากที่อิเหนาลืมนาง นางได้พบอิเหนาเมื่อท้าวกุเรปันส่งสารมาให้นางไปเข้าพิธีอภิเษกพร้อมบุษบา จินตะหราไม่อยากไปร่วมพิธี แต่ขัดไม่ได้ จึงพานางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีไปด้วย  ในพิธีอภิเษก นางบุษบาได้อยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย ในขณะที่จินตะหราวาตีอยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายขวา ด้วยความเห็นชอบของท้าวดาหา (อาจจะเป็นเพราะว่าท้าวดาหาต้องการแสดงว่ามีพระทัยกว้าง จึงให้พระธิดาของตนอยู่ในตำแหน่งรอง) แต่จินตะหราไม่มีความสุขกับตำแหน่งนั้นเพราะอิเหนาไม่ได้รักนางเหมือนเมื่อ ก่อน ประกอบกับนางเป็นคนถือทิฏฐิไม่ยอมคืนดีด้วย เมื่ออิเหนามาหาทั้งยังทวงสัญญาทำให้อิเหนาเสื่อมรักนางมากแล้วยิ่งเบื่อจิ นตะหรามากขึ้น ไม่คิดสนใจ แต่ขัดคำสั่งของประไหมสุหรีท้าวดาหาไม่ได้ จึงจำใจไปง้อนาง รักอย่างเดียวไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน โดยเฉพาะความรักที่ถือเอาความงามเป็นแบบบรรทัดฐานอย่างอิเหนา เมื่อเรื่องรู้ถึงท้าวหมันหยากับประไหมสุหรีท้าวหมันหยา ได้เรียกนางจินตะหราไปตักเตือน ทำให้จินตะหรารับสภาพว่านางเสียเปรียบบุษบามาก แล้วขืนยังทำตัวยืนกรานแบบเก่าจะมีสภาพที่ย่ำแย่ จึงยอมคืนดีกับอิเหนา และอ่อนเข้าหาบุษบา
จุดเริ่มต้นที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้ตัวละครประกอบความยุ่งยาก และเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายอันเป็นการดำเนินเรื่อง
ของบทละครเรื่องนี้ เกิดจากอัยยิกาของอิเหนาที่เมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาจึงเสด็จไปในงานพระเมรุแทนท้าวกุเรปัน แต่เสร็จพิธีแล้วอิเหนาไม่ยอมกลับ เพราะหลงรักนาง จินตะหรา ธิดาท้าวหมันหยา จนท้าวกุเรปันต้องมีสารไปเตือน เมื่อกลับมากรุงกุเรปันแล้วและใกล้เวลาอภิเษกกับบุษบา อิเหนาก็ไม่ใคร่เต็มใจ จึงออกอุบายทูลลาพระบิดาไปประพาสป่า แล้วปลอมองค์เป็น ปันหยีหรือโจรป่า นามว่ามิสาระปันหยี คุมไพร่พลรุกรานเมืองต่าง ๆ เมื่อเสด็จไปถึงเมืองใดก็ได้เมืองนั้นเป็นเมืองขึ้น ระตูหลายเมืองได้ถวายโอรสและธิดาให้ ที่สำคัญคือระตูปันจะรากันและระตูปักมาหงัน ได้ถวายธิดาคือมาหยารัศมีและสะการวาตี ซึ่งต่อมาได้เป็นชายาของอิเหนา และถวายโอรสคือสังคามาระตา ซึ่งอิเหนายกย่องให้เป็นน้องและเป็นทหารคู่ใจ กองทัพของปันหยีรอนแรมไปจนถึงเมืองหมันหยา ท้าวหมันหยาไม่กล้าต่อสู้และยอมยกธิดาให้ แต่พอรู้ว่าเป็นอิเหนา ท้าวหมันหยาไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา อิเหนาจึงลอบเข้าหานางจินตะหราและได้เสียกัน ท้าวหมันหยาก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

พอถึงกำหนดการอภิเษก ท้าวดาหาก็มีสารถึงท้าวกุเรปันให้เตรียมพิธีอภิเษก แต่อิเหนาบอกปัด ทำให้ท้าวดาหาโกรธมาก จึงประกาศจะยกบุษบาให้กับใครก็ได้ที่มาขอ เพราะฉะนั้นเมื่อระตูจรกา กษัตริย์รูปชั่วตัวดำ ให้พี่ชายคือระตูล่าสำไปสู่ขอบุษบาให้ตน ท้าวดาหาก็ยอมยกให้ ต่อมา ท้าวกระหมังกุหนิง ส่งทูตมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำซึ่งเป็นโอรส แต่ท้าวดาหาปฏิเสธเพราะได้
ยกให้ระตูจรกาไปแล้ว เป็นเหตุให้ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธและยกกองทัพมาล้อมเมืองดาหา ท้าว ดาหาจึงขอกำลังจาก
พระเชษฐาและพระอนุชา ท้าวกุเรปันมีคำสั่งให้อิเหนาไปช่วยรบ อิเหนาจึงจำใจต้องจากนางจินตะหราและยกกองทัพไปช่วยรบ การศึกครั้งนี้ อิเหนามีชัยชนะ ท้าวกะหมังกุหนิงถูกอิเหนาฆ่าตายและโอรสคือวิหยาสะกำถูกสังคามาระตาฆ่าตาย กองทัพที่ล้อมเมืองดาหาก็แตกพ่ายไป เมื่อชนะศึกแล้ว อิเหนาก็ได้เข้าเฝ้าท้าวดาหาและได้พบกับบุษบา อิเหนาได้เห็นความงามของบุษบาก็หลงรักและเสียดาย พยายามหาอุบายอยู่ในเมืองดาหาต่อไป และพยายามหาโอกาสใกล้ชิดบุษบา โดยอาศัยสียะตราเป็นสื่อรัก อิเหนาพยายามหาวิธีการทุกทางเพื่อจะได้บุษบาเป็นของตน เช่นตอนที่ท้าว
ดาหาไปใช้บนที่เขาวิลิศมาหรา อิเหนาได้แอบสลักสารบนกลีบดอกปะหนัน (ลำเจียก) ให้นาง แอบเข้าไปในวิหารพระปฏิมา ตรัสตอบคำถามแทนพระปฏิมา ต้อนค้างคาวมาดับไฟแล้วแอบมากอดนาง ตลอดจนคาดคั้นมะเดหวีให้ช่วยเหลือตน เป็นต้น และเมื่อท้าวดาหาจะจัดพิธีอภิเษกระหว่างบุษบากับระตูจรกา อิเหนาก็ใช้วิธีการสุดท้ายโดยการทำอุบายเผาเมือง แล้วลอบพานางบุษบาหนีออกจากเมืองไปซ่อนในถ้ำที่เตรียมไว้ และได้นางเป็นมเหสี